008. ยิงแอด FB เทคนิคอล ( VVIP Member Only )

Cloaking คืออะไร?

เผยแพร่โดย Siriwipa Prasertjan

Cloaking คืออะไร?

1.การทำ Cloaking

พูดง่ายๆก็คือการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ของเว็บไซต์ให้คนเห็นแบบหนึ่ง และแสดงให้กับ bots จาก search engines เห็นอีกแบบหนึ่ง

รูปด้านล่างแสดง ‘สินค้าโปรโมชั่นราคาพิเศษ’ ในเว็บขายของใช้เด็กเว็บนึง จะเห็นว่าสำหรับเราๆ ท่านๆ จะไม่เห็นอะไรผิดปกติ


ถัดไปผมลาก highlight บริเวณด้านของรูปเดียวกัน คุณจะเห็นตัวหนังสือที่ไม่เห็นก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เพราะว่าสีของตัวหนังสือถูกทำให้เป็นสีเดียวกันกับสีของพื้น หรือ background จะด้วยการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามการกระทำลักษณะนี้คือ Cloaking ผิดนโยบาย Facebook ชัดเจน อย่างเบาอาจแค่ถูกตัด คะแนน อย่างหนักโดยแบนไปเลยดังนั้นไม่แนะนำให้ทำครับ

2. การทำ Keyword Stuffing

ต่อจากข้อ 1. เว็บเดียวกันนี้นอกจากจะทำ Cloaking แล้ว ตัวหนังสือที่ซ่อนไว้นี้ไม่ได้เป็นประโยคธรรมดา แต่เป็นลิสต์ของ keywords ที่กำลังทำอันดับอยู่ ดังนี้

“โปรโมชั่นสุดคุ้มสำหรับวันนี้ ซื้อครบ 1,000 บาท ลด 35%”

การทำแบบนี้เรียกว่า Keyword Stuffing หมายถึงการเอา keyword ที่ต้องการดันไปแปะๆ ไว้ตามหน้าเพจต่างๆ แบบเปรอะๆ โดยมีจุดประสงค์เดียวเพียวๆ คือ rankings ที่ดีขึ้น

คำว่า Cloaking นั้นคนที่เข้าวงการ SEO มาใหม่อาจจะงงว่ามันคืออะไร แต่ที่จริงแล้วบางคนที่เข้ามาในวงการนี้แล้ว ก็อาจจะไม่เคลียก็ได้ว่ามันคืออะไรกันแน่ เพราะบางคนยังคิดอยู่ว่า Cloaking ก็แค่เป็นการใช้ keyword สีเดียวกับพื้นหลัง เพื่อให้เพจนั้น ๆ มี keyword เยอะ ๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้สึกรำคาญ (เพราะว่ามองไม่เห็นคำเหลานั้นนั่นเอง) …แต่แท้จริงแล้ว cloaking ไม่ใช่อะไรเพียงแค่นั้น cloaking นั้นรวมหมดทุกการกระทำ ที่สามารถทำให้ bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูล เห็นสิ่งที่อยู่ในเพจต่างกับ user ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเสี่ยงและขัดแย้งกับสิ่งที่เป็นคำแนะนำของ Google (Google Webmaster Guideline)

จากรุปภาพด้านบน ก็ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูว่า การใช้ทักษะในการเขียนโปรแกรมเข้ามาตรวจสอบว่าเป็นบอทหรือเป็นคน แล้วแสดงเนื้อหาที่แตกต่างกันออกมานั้น ก็ถือว่าเป็น Cloaking เช่นกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้นมากมายกับการกระทำดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การให้บอทเก็บข้อมูลว่าเพจ ๆ นี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการ์ตูน แต่พอคนเข้ามาดูจริง ๆ กลับกลายเป็นเว็บแสดงเนื้อหา 18+ ซึ่งไม่ถูกวัตถุประสงค์อย่างมาก และในกรณีแบบนี้ยิ่งไม่เหมาะกับเยาวชนอย่างมากด้วย

เพราะฉะนั้นแล้วหากใครมี Code ที่เจาะจงว่าถ้า Google bot หรือตัวเก็บข้อมูลชนิด

ต่าง ๆ เข้ามาที่เว็บไซต์เรา ให้แสดงอะไรที่แตกต่างออกไปล่ะก็ควรพิจารณาให้ดี เพราะหากเว็บสแปมทีมเข้ามาตรวจสอบล่ะก็เว็บโดนเด้งแน่นอน

แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าการแสดงเนื้อหาแบบ Dynamic แบบที่มีการตรวจสอบ ip-address หรือวิธีการใด ๆ เพื่อเป็นการแสกนข้อมูลของผู้ใช้ นั้นจะถือว่าเป็นการ Cloaking ไปซะหมด เพราะเจ้าของเว็บบางคน อาจจะทำการตรวจสอบ location ของ user เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกัน เช่น หากเป็น user จากอเมริกา เว็บเพจก็จะแสดงเนื้อหาภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็น user จากฝรั่งเศส หรือ จากประเทศไทยเอง ก็จะแสดงเนื้อหาของยูสเซอร์จากประเทศนั้น ๆ สำหรับการกระทำแบบนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นการผิดอะไร เพราะหากบอทจากอเมริกามาเก็บข้อมูล ก็จะเก็บข้อมูลภาษาอังกฤษไป แต่หากมาจากประเทศอื่น ๆ ก็จะเก็บภาษาอื่น ๆ เพราะฉะนั้นหากเรานำเสนอ bot เหมือน ๆ กับคน จะไม่ถือว่าเป็น cloaking แต่หากเรามีการระบุแบบเฉพาะเจาะจง ที่จะนำเสนอสิ่งที่แตกต่างออกไปแล้วล่ะก้อ ท่านอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงอย่างแน่นอน

เรื่องนี้อาจจะเป็นพื้นฐาน แต่ก็คิดว่าจะทำให้ใครหลาย ๆ คนได้เข้าใจ cloaking ได้ดีขึ้น และอาจจะช่วยให้มองภาพรวมของการพัฒนาเว็บไซต์ได้กว้างขึ้นด้วย